วงมโหรี
วงมโหรี เป็นวงดนตรีไทยที่มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาอย่างยาวนาน
จัดเป็นการ ประสมวงที่มีความสมบูรณ์ในด้านเสียงสูงสุด
กล่าวคือ เป็นการรวมเอาเครื่อง ดนตรีทำทำนองของวงปี่พาทย์ที่มีเครื่องตี
คือ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอก เหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก
ร่วมกับเครื่องดนตรีในวง เครื่องสายที่มีเครื่องดีด คือ จะเข้ เครื่องสี คือ ซอด้วง และซออู้
และเครื่องเป่า คือ ขลุ่ย เอาไว้ด้วยกัน การนำเอาวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายมารวมกันนี้
ทำให้ วงมโหรีเป็นการรวมกันของเครื่องดนตรีทุกตระกูล คือ ดีด สี ตี และเป่า
มา รวมอยู่ในวงเดียวกันได้อย่างลงตัว
ละเอียดอ่อน และละเมียดละไม มีแนวทาง การบรรเลงที่นุ่มนวล ไพเราะ นิยมใช้บรรเลงในพิธีการที่ศักดิ์สิทธิและเป็น มงคลต่างๆ
ที่มาภาพ:http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Pic4web/clip_image002_0006.jpg
วงมโหรีสมัยโบราณ (มโหรีเครื่องสี่)
มีผู้บรรเลงเพียง ๔ คน
เท่านั้น คือ คนสีซอสามสาย คนดีดพิณ (กระจับปี่) คนตีทับ (โทน)
และคนร้องซึงตีกรับพวงด้วยเครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่ดำเนินทำนองคือ ซอสามสายกับพิณหรือกระจับปี่ ทับ ซึ่งในสมัยปัจจุบัน เรียกว่า
โทน ทำ หน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ เพื่อให้รู้ประโยคและทำนองเพลง
ส่วนกรับพวงที่
คนร้องตีนั้นกำกับจังหวะย่อย
คนร้องตีนั้นกำกับจังหวะย่อย
ที่มาภาพ:http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Pic4web/clip_image001_0003.jpg
วงมโหรีเครื่องหก
ต่อมาวงมโหรีได้เพิ่มเติมเครื่องดนตรีขึ้นมาอีก
๒ อย่าง และเปลี่ยนแปลงไปอย่างหนึ่งเป็นวงมโหรีเครื่องหก เพราะมีผู้บรรเลง ๖ คน คือซอสามสาย
พิณหรือ กระจับปี่ ทับหรือโทน รำมะนา (เพิ่มใหม่) ตีสอดสลับกับโทนหรือทับ
ขลุ่ย (เพิ่มใหม่) ช่วยดำเนินทำนองเพลง และกรับพวงของเดิมเปลี่ยนมาเป็นฉิ่ง
ที่มาภาพ:http://pirun.ku.ac.th/~b521110058/Pic4web/clip_image002_0009.jpg
วงมโหรีวงเล็ก
วงมโหรีได้มีวิวัฒนาการ
เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับ ครั้งแรกได้เพิ่มฆ้อง วงกับระนาดเอก ต่อมาจึงได้เพิ่มซอด้วง ซออู้ และขลุ่ย
ส่วนพิณหรือกระจับปี่ นั้น เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงเมื่อยล้าเมื่อพบจะเข้ซึ่งเดิมเป็นเครื่องดนตรีของ มอญเป็นเครื่องดนตรีที่วางบนพื้นราบและดีดเป็นเสียงเช่นเดียวกัน
ทั้งนมที่ บังคับเสียงเรียงลำดับก็ถี่พอสมควร
สะดวกและคล่องแคล่วในการบรรเลงดีกว่า จึงนำจะเข้มาแทนพิณหรือกระจับปี่ ซึ่งนับเป็นวงมโหรีวงเล็กที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ ส่วนหน้าที่ในการบรรเลงก็เป็นดังนี้ ซอสามสาย
บรรเลงเป็นเสียงยาวโหยหวน บ้าง เก็บถี่ ๆบ้างตามทำนองเพลง และเป็นผู้คลอเสียงร้องด้วย
ที่มาภาพ:https://tminstrument.files.wordpress.com/2012/03/mhoreb1.jpg
วงมโหรีเครื่องใหญ่
ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
รัชกาลที่ ๔ วงปี่พาทย์ได้เพิ่ม ระนาดทุ้มกับระนาดเอกเหล็กขึ้นอีก ๒ ราง
กลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ มโหรีจึง เลียนแบบ โดยเพิ่มระนาดทุ้มเหล็กขึ้นบ้าง ส่วนระนาดเอกเหล็กนั้นเปลี่ยนเป็นสร้างลูก ระนาดด้วยทองเหลียง เพราะเทียบให้เสียงสูงไพเราะกว่าเหล็ก
เรียกว่าระนาดทอง รวมทั้งวงเรียกว่าวงมโหรีเครื่องใหญ่
ซึ่งได้ถือเป็นแบบปฏิบัติใช้บรรเลงมาจนปัจจุบันนี้ บรรดาเครื่องดนตรีต่าง ๆ ที่วงมโหรีได้เลียนแบบมาจากวงปี่พาทย์ คือ
ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก (เป็นระนาดทอง) ระนาดทุ้มเหล็ก
(บางวงทำด้วยทองเหลือง เรียกว่า ระนาดทุ้มทองก็มี) ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็กนั้น
ทุกสิ่งจะต้องย่อขนาดลดลงให้เล็กเพราะสมัยโบราณผู้บรรเลงมโหรีมีแต่สตรีทั้งนั้น
จึงต้องลดขนาดลงให้พอเหมาะ แก่กำลัง
อีกประการหนึ่งการลดขนาดเครื่องตีเหล่านี้ลงก็เพื่อให้เสียงดังสมดุลกับเครื่อง ดนตรีประเภทดีดสี มิฉะนั้นเสียงจะกลบพวกเครื่องสายหมด
ที่มาภาพ: https://tminstrument.files.wordpress.com/2012/03/i8p58.gif
อ้างอิง:http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น